เมนู

ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธน้อม
ไปในการสละ. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด. มีอันกำจัด
โทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์
มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด.
ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็น
ที่สุด ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันหยั่งลงสู่อมตะมีอมตะเป็นเบื้องหน้า
มีอมตะเป็นที่สุด. ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่
นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันน้อมไปสู่
นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ 7
เหล่านี้แล อันภิกษุควรเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป
เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องสูง 5 ประการเหล่านี้แล.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โอฆสูตร 2. โยคสูตร 3. อุปาทานสูตร 4. คันถสูตร
5. อนุสยสูตร 6. กามคุณสูตร 7. นีวรณสูตร 8. ขันธสูตร 9. อุทธัม-
ภาคิยสูตร
จบโอฆวรรคที่ 13
แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่ทิศปราจีน แม่น้ำทั้ง 6 สายไหลไปสู่สมุทร
ทั้ง 2 อย่างนั้น อย่างละ 6 รวมเป็น 12 เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าวรรค
(คังคาเปยยาลแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายความด้วยสามารถ
แห่งราคะ)

จบวรรคที่ 14
1. ตถาคตสูตร 2. ปทสูตร 3. กูฏสูตร 4. มูลสูตร 5. สารสูตร
6. วัสสิกสูตร 7. ราชสูตร 8. จันทิมสูตร 9. สุริยสูตร 10. วัตถสูตร

(อัปปมาทวรรค พึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถ
แห่งราคะ)

จบวรรคที่ 15
1. พลสูตร 2. พีชสูตร 3. นาคสูตร 4. รุกขสูตร 5. กุมภสูตร
6. สุภสูตร 7. อากาสสูตร 8. ปฐมเมฆสูตร 9. ทุติยเมฆสูตร 10. นาวา
สูตร 11. อาคันตุกสูตร 12. นทีสูตร.
(พลกรณียวรรคแห่งโพชฌงคสังยุต พึงขยายเนื้อความให้
พิสดารด้วยสามารถแห่งราคะ)

จบวรรคที่ 16
1. เอสนาสูตร 2. วิธาสูตร 3. อาสวสูตร 4. ภวสูตร 5. ปฐม
ทุกขสูตร 6. ทุติยทุกขสูตร 7. ตติยทุกขสูตร 8. ขีลสูตร 9. มลสูตร
10. นีฆสูตร 11. เวทนาสูตร 12. ตัณหาสูตร.
จบเอสนาวรรคแห่งโพชฌงค์สังยุตที่ 17
1. โอฆสูตร 2. โยคสูตร 3. อุปาทานสูตร 4. คันถสูตร
5. อนุสยสูตร 6. กามคุณสูตร 7. นีวรณสูตร 8. ขันธสูตร 9. อุทธัม-
ภาคิยสูตร.
(โอฆวรรคพึงขยายเนื้อความให้พิสดารด้วยสามารถแห่งการ
กำจัดราคะเป็นที่สุด การกำจัดโทสะเป็นที่สุด และการกำจัดโมหะ
เป็นที่สุด)

จบวรรคที่ 18
(มรรคสังยุคแม้ใด ขยายเนื้อความให้พิสดารแล้ว โพชฌงค
สังยุต แม้นั้น ก็พึงขยายเนื้อความให้พิสดาร)

จบโพชฌงค์สังยุต

อรรถกถาอานาปานาทิเปยยาลที่ 7*



อรรถกถาอัฏฐิกสัญญา



พึงทราบวินิจฉัยในอัฏฐิกสัญญา ในอานาปานวรรคที่ 7 เป็นต้น.
บทว่า อฏฺฐิกสญฺญา ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
กระดูก กระดูก ดังนี้. ก็เมื่อเจริญอัฏฐิกสัญญานั้นอยู่ ผิวก็ดี หนังก็ดี
ย่อมปรากฏตลอดเวลาที่นิมิตยังไม่เกิดขึ้น เมื่อนิมิตเกิดขึ้น ผิวและหนังย่อม
ไม่ปรากฏเลย. อนึ่ง โครงกระดูก. ล้วนมีสีดุจสังข์ ย่อมปรากฏ ดังที่ปรากฏ
แก่สามเณรผู้แลดูพระเจ้าติสสะ ผู้ทรงธรรมอยู่บนคอข้าง และแก่พระติสสเถระ
ผู้อยู่ที่เจติยบรรพต ผู้แลดูหญิงกำลังหัวเราะในที่สวนทาง. เรื่องทั้งหลาย
ขยายให้พิสดารไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ความว่า
เมื่อยังมีความยึดถือเหลืออยู่.
จบอรรถกถาอัฏฐิกสัญญา

ว่าด้วยปุฬุวกสัญญา


บทว่า ปุฬุวกสญฺญ ได้แก่ สัญญาที่เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เจริญอยู่ว่า
มีหนอน. แม้ในบทว่า วินีลกสัญญาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . ส่วนในข้อนี้
เรื่องวินิจฉัยกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคกับนัยภาวนา. พรหมวิหารมีเมตตาเป็นต้น
พึงทราบด้วยอำนาจฌานหมวด 3-4. อุเบกขา ด้วยอำนาจฌานที่ 4 แล.
จบอรรถกถาปุฬุวกสัญญา
* อรรถกถาเป็นวรรคที่ 7